Mind Mapping
คำถามหลัก (BigQuestions) : - เงินมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง
และถ้าไม่มีเงินวิถีชีวิตของคนเราอย่างไร?
-
บิลต่างๆ
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้างในชีวิตประจำวันของเรา?
ภูมิหลังของปัญหา :
ความจำกัดของทรัพยากรโลก
ซึ่งสวนทางเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่ไร้ขีดจำกัด การแย่งชิงทรัพยากรภายใต้ความจำกัดจึงเกิดขึ้น
ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยี สินค้า สาธารณูปโภคต่างๆ
ทำให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัว รายรับสวนทางกับรายจ่าย ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ เกิดภาวะหนี้สิน
ความเครียด รวมทั้งปัญหาความยากจน เกิดเป็นปัญหาทางสังคมตามมา ระบบเศรษฐกิจจึงถูกนำมาจัดสรรทรัพยากรและแก้ไขปัญหา
ระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ จำเป็นต้องอาศัยสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ทุกคนในสังคมนั้นๆ
ยอมรับ เช่น เงิน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ใช้ในการใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการ หรือชำระหนี้
นอกจากนี้ที่มาของเงินแต่ละประเทศก็มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
บิลเป็นสิ่งที่เราจะได้รับเมื่อซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงหลักฐานในการจ่ายเงินเท่านั้น
แต่มีความเชื่อมโยงกับชุดความรู้ในชีวิตหลายเรื่อง เช่น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการ
เป็นต้น
ดังนั้นนักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายสิ่งที่เชื่อมโยงในเงินและบิล อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนจัดการการเงินของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding
Goal) :
1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม
2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล
รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้
ตารางความสัมพันธ์ Core Subject
หน่วย : “Secret of Money สิ่งสมมุติ มนุษย์ใช้”
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1/2559
สุขภาพ
|
เศรษฐศาสตร์และการประกอบการ
|
สิ่งแวดล้อม
|
หน้าที่พลเมือง
|
-
ฐานะทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษาของประชาชนส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่
-
รายได้และรายจ่ายส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคน
-
ใช้เงินในการซื้อบริการประเภทอุปโภคและบริโภค
|
-
การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับผลตอบแทนสูงด้วยเช่นกัน
-
การลงทุนมีหลายแบบ เช่น การออม
การซื้อพันธบัตร ตราสารหนี หุ้น หุ้นกู้ หรือการประกอบการ ทำธุรกิจ แม้กระทั่งการทำประกันชีวิต
-
ประชาชนขาดความรู้ในด้านการลงทุน
การประกอบการ ทำให้ขาดทุนหรือไม่รู้จักการลงทุน
-
ประชากร ขาดวินัยในการออมเงินเงิน ใช้จ่ายเงินในอนาคต และยอมผ่อนจ่ายทีหลังทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน
-
ขาดความรู้ทำให้ภาษี
ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ไม่ได้วางแผนทางด้านนี้
|
-
ทรัพยากรในประเทศถูกใช้ไปมาก โดยขาดการวางแผน
-
การทำลายสินค้า หรือแม้กระทั่งเงินที่ไม่ใช้แล้วในแต่ละปี
ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเผาทำลาย
-
นายทุนนำเงินซื้อที่ดิน หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในหารประกอบการหารายได้
-
ต้นไม้หรือทรัพยากรอื่นๆ ถูกนำมาทำเป็นกระดาษหรืออื่นๆ
ทำให้ลดน้อยลง
|
-
ซื่อสัตย์สุจริต
ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
-
เคารพ
และอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลายได้
-
การจัดการความขัดแย้งและสร้างสันติวิธีในการอยู่ร่วมกัน
-
มารยาทไทย (การแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย การมีสัมมาคารวะ)
-
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละ และรับผิดชอบต่อสังคม
-
ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
|
ปฏิทินแผนจัดกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "เงิน/บิล"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1 - 2
08 – 19
ส.ค.
59
|
โจทย์ :
- สร้างฉันทะ แรงบันดาลใจ/ ปะทะปัญหา
- ออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเล่นเกม
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร
- ทำไมต้องมีทั้งเหรียญและธนบัตร?
เครื่องมือคิด
:
- Brainstorms
- Placemat
- Think Pair Share
- Card &
Chart
- Think
Pair Share
- Show and Share
- Flow chart
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บิลค่าไฟฟ้า, บิลน้ำประปา, บิลค่าโทรศัพท์,
ใบเสร็จร้านสะดวกซื้อ
- เงินประเทศต่างๆ
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน
4 กลุ่ม เล่นเกม “รวมเงิน”(เหรียญ 25, 50 สตางค์ 1,
2, 5 และ 10 บาท)
-
ครูนำเงินธนบัตรและเหรียญให้นักเรียนสังเกต นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามกับเงิน
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับเงินมีหลายแบบ แต่ละแบบมีขนาด สี
สัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน) นำเสนอและร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำถาม
- นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองจะนำมาใช้ซื้อสิ่งของแทนเงิน พร้อมให้เหตุผลประกอบ
- ครูนำธนบัตรต่างประเทศและใบเสร็จหรือบิลค่าสาธารณูปโภค
(ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ) มาให้นักเรียนสังเกต
นักเรียนจะชำระค่าสาธารณูปโภคเหล่านี้เป็นเงินบาทไทยได้อย่างไร (สกุลเงิน
อัตราแลกเปลี่ยน)
- นักเรียนออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับการขั้นตอนการจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค
ร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนออกแบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ของตนเอง (การบ้าน)
- นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
และตั้งชื่อหน่วย PBL
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- นักเรียนเขียน Mind
mapping ความรู้ก่อนเรียน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการเล่นเกม
- วิเคราะห์ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้จากบิล และธนบัตร และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ออกแบบและบันทึกรายรับ -รายจ่าย
ของตนเอง
- การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- การวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
-
Placemat ตั้งคำถามกับเกมเหรียญและธนบัตร
-
Web
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้จากบิลและธนบัตร
-
บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
-
Flow
chart ขั้นตอนการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร
-
ป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-
สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
-
ปฏิทินการเรียนรู้
-
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
- สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
- สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
3 - 4
22 ส.ค. – 02 ก.ย.
59
|
โจทย์ : วิวัฒนาการของเงิน
-
ประวัติศาสตร์
-
สังคม วัฒนธรรม
-
สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน
Key Questions :
-
ในสมัยก่อนใช้วิธีใดบ้างในการซื้อสินค้าต่างๆ?
-
รูปภาพที่ปรากฏในเหรียญหรือธนบัตรมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนในประเทศนั้นๆ
หรือไม่อย่างไร?
-
ทำไมเงินแต่ละประเทศมีค่าไม่เท่ากัน ใช้กฎเกณฑ์ใดบ้างวัดค่าของเงินประเทศนั้นๆ?
เครื่องมือคิด :
-
Brainstorms
-
Jigsaw
-
Timeline
-
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เงินประเทศต่างๆ
- ครูเปิดคลิปวีดีโอ
“[เหรียญ ธนบัตร] เงินตราโบราณของไทย”
- ภาพหน่วยเงินในสมัยก่อน
- แผนที่โลก
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
- ครูนำ หอย (เบี้ย)
และเงินเหรียญสมัยก่อน ให้นักเรียนสังเกต นักเรียนตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น (ความเชื่อมโยงของสองสิ่งนี้)
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอ
“[เหรียญ ธนบัตร] เงินตราโบราณของไทย” (https://www.youtube.com/watch?v=TedahRrnKKY)
- ครูให้นักเรียนดูภาพ หน่วยเงินสมัยก่อน นักเรียนจับคู่ภาพหน่วยเงินในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับเงินในสมัยต่างๆ พร้อมเขียน Timeline หน่วยเงินของประเทศไทย
- ครูนำเงินประเทศต่างๆ
มาให้นักเรียนสังเกต นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนออกแบบการเรียนรู้เรื่องเงินในแต่ละประเทศที่สนใจ
โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw และนำเสนอในรูปแบบของชาร์ตความรู้
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม สกุลเงิน
อัตราแลกเปลี่ยน)
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล
และร่วมกันนำเสนอ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาและความแตกต่างของเงินในสมัยก่อน
กับปัจจุบัน
- การออกแบบโจทย์
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับ Time line วิวัฒนาการของเงินที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศที่ตนเองสนใจ)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้
และร่วมกันนำเสนอ
- ค้นคว้าข้อมูล
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-
บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล
และร่วมกันนำเสนอ
ชิ้นงาน
- Time line วิวัฒนาการของเงินที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ
- ชาร์ตความรู้เงินต่างประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
- เข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
สังคมวัฒนธรรม บุคคลสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเงินของแต่ละประเทศ
- นำความรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
5
05 - 09
ก.ย.
59
|
โจทย์ : เศรษฐศาสตร์
-
ภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อ
-
การขาดสภาพคล่อง
-
ทุนนิยม สังคมนิยม
Key Questions :
- ทำไมไม่ผลิตเงินออกมาเยอะๆ?
- ทำไมค่าของเงินบนธนบัตรบางประเทศจึงมีค่าน้อยและมากแตกต่างกัน?
- ระบบเศรษฐกิจในโลกที่แต่ละประเทศใช้กันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Web
- Show and
Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดีโอ “วิกฤตต้มยำกุ้งในไทย”
และ
“ดอลลาร์ซิมบับเว สกุลเงินที่มีค่าเงินต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์”
-
อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
- ครูเปิดคลิปวีดีโอ “ดอลลาร์ซิมบับเว
สกุลเงินที่มีค่าเงินต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์” และ“วิกฤตต้มยำกุ้งในไทย”
ให้นักเรียนดู
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤต
โดยเขียนในรูปแบบ Web
- นักเรียนค้นคว้าข้อมูล 10 วิกฤตเศรษฐกิจ
1) วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1929
2) วิกฤติเศรษฐกิจในอาเจนติน่า ค.ศ. 1999 - 2002
3) วิกฤติเศรษฐกิจในกรีซ
ค.ศ. 2009
4) วิกฤติการเงินในรัสเซีย ค.ศ. 1998
5) วิกฤติการเงินในสวีเดน ค.ศ. 1990 -1994
6) ต้มยำกุ้งในไทย ค.ศ. 1997-1999
7) ฟองสบู่ธุรกิจดอตคอม ค.ศ. 1995-2000
8) ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ค.ศ. 1986-1990
9) วิกฤตินำมันในยุค 1970
10)
วิกฤติซับไพร์มหรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์”
- นักเรียนออกแบบการเรียนรู้
นำเสนอวิกกฤตการเงินต่างๆ ในรูปแบบ รายการข่าวหรือคลิปสารคดี
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล
และร่วมกันนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ
- การออกแบบโจทย์
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง
เช่น การเมือง สังคม ระบบทุน)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้
และร่วมกันนำเสนอ
- ค้นคว้าข้อมูล
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-
บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล
และร่วมกันนำเสนอ
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
-
คลิปรายการข่าวหรือสารคดีวิกฤตการเงินต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
เข้าใจความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคมมีความเกี่ยวข้องทำให้เกิดเหตุการณต่างๆ
เช่นภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
6
12 – 16
ก.ย.
59
|
โจทย์ : การประกอบการและธุรกิจ
-
กฎหมาย/สิทธิผู้บริโภค
-
ภาษี
-
บิล/ใบเสร็จ (ข้อมูลค่าตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ)
Key Questions :
- กฎหมาย/สิทธิผู้บริโภคเกี่ยวข้องกับบิลและใบเสร็จอย่างไรบ้าง?
บิล/ใบเสร็จ 1 ใบบอกอะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Round Rubin
- Card and Chart
- Show and
Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน/วิทยากร (ผู้ปกครอง)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
- วิทยากร(ผู้ปกครอง)
ร่วมการสร้างเรียนรู้ บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง
- นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
(เป้าหมายสิ่งที่ต้องรู้ก่อนประกอบธุรกิจ เช่น กฎหมาย ภาษี การบริหารธุรกิจ)
- นักเรียนทัศนศึกษา
เพื่อเรียนรู้การจัดการธุรกิจหรือการประกอบการจากสถานที่จริง
- นักเรียนจำลองการเปิดธุรกิจหรือร้านค้าของตนเอง
ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำ
-
นักเรียนสังเกต บิล/ใบเสร็จ พร้อมตั้งคำถามสิ่งที่เห็น
โดยใช้เครื่องมือคิด Card and
Chart
-
นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ (เป้าหมายความหมายที่อยู่ในบิล/ใบเสร็จต่างๆ
ความเชื่อมโยงกับตัวเรา ภาษี การคิดคำนวณภาษี)
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล
และร่วมกันนำเสนอสิ่งที่ยังต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ตั้งคำถามและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยาการ
- ออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจต่างๆ
และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้
และร่วมกันนำเสนอ
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆในบิล/ใบเสร็จ
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-
บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
ชิ้นงาน
- Flow chart ขั้นตอนการประกอบธุรกิจ
-
ชาร์ตความรู้สัญลักษณ์ต่างๆในบิล/ใบเสร็จ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
-
เข้าใจความแตกต่างในการทำธุรกิจ กฎหมาย ภาษี
การออกบิล/ใบเสร็จ
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลค่าตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ
-
สามารถวางแผนและจัดการบริหารธุรกิจที่ตนเองสนใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
7
19 – 23
ก.ย.
59
|
โจทย์ : การออมและการลงทุน
- เงินฝาก/กู้ (ดอกเบี้ยเงิน)
- กองทุน หุ้น ตราสารหนี้
พันธบัตร
- ประกันชีวิต
- ภาษีต่างๆ
- ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุน
Key Questions :
-
ถ้าเราฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างเดียว โดยไม่มีการลงทุนอย่างอื่น
เพียงพอหรือไม่กับการใช้ในวัยเกษียณ?
- นักเรียนจะบริหารจัดการเงินห้องอย่างไรให้เพิ่มขึ้น?
เครื่องมือคิด :
- Placemat
- ชักเย่อความคิด
- Jigsaw
- Brainstorms
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน/วิทยากร
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดีโอ
“เถ้าแก่น้อย” (https://www.youtube.com/watch?v=UZhUwqGNnvk)
- โบร์ชัวร์การออมเงินและการลงทุนของธนาคารต่างๆ
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
|
- ชักเย่อความคิด ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อรอรับดอกเบี้ยอย่างเดียวจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ในการใช้ในวัยเกษียณ?
- ครูนำโบร์ชัวร์เกี่ยวกับการลงทุน
การออมของธนาคารต่างๆ มาให้นักเรียนสังเกต
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับการลงทุน การออม โดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์
(เป้าหมายการเรียนรู้ การคำนวณ
ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้ กองทุน หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตร ประกันชีวิต ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุน)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้
และร่วมกันนำเสนอ โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
- นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- วิทยากร (ครูน้ำผึ้ง)
พูดคุยเกี่ยวกับการลงทุนแบบประกันสุขภาพ
- นักเรียนเรียนดูคลิปวีดีโอ
“เถ้าแก่น้อย” (https://www.youtube.com/watch?v=UZhUwqGNnvk)
-
นักเรียนประมวลความเข้าใจและและตั้งคำถามเกี่ยวกับการลงทุน
คำนวณเงินลงทุนจาการปลูกผัก (PBL
คู่ขนาน) พร้อมออกแบบการลงทุน เพื่อให้เกิดรายได้
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกแบบโจทย์
(เป้าหมายการเรียนรู้ลงทุน คำนวณกำไร
และขาดทุน)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการจัดการบริหารธุรกิจของกลุ่มตนเอง
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-
ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการออมและการลงทุน (ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้
ปัจจัยที่ส่งผลกับการออมและการลงทุน)
- ออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้
และร่วมกันนำเสนอ
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-
บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
ชิ้นงาน
- แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุน
- Flow chart แผนงานการลงทุน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
-
เข้าใจและเห็นความจำเป็นของการออมเงินและการลงทุนประเภทต่างๆ ในยุคปัจจุบันที่เงินฝากจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ
-
สามารถนำความรู้เรื่องการออมเงินและการลงทุนไปประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
8
26 – 30
ก.ย.
59
|
โจทย์ : Review กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
คำถาม
- การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
- จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
เครื่องมือคิด
-
AAR
-
Show and share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม
สรุปประเด็นจาก AARและนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- ร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันตลอด Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม
สรุปประเด็นจากAAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมา
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- ชิ้นงานนำเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นในวง AAR
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำเสนอความคิดเห็นมุมมองด้านข้อดีและข้อด้อยของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
9
03 – 07
ต.ค.
59
|
โจทย์ : การสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
ประเมินตนเอง
Key Questions :
- นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นรับรู้อย่างไรให้น่าสนใจโดยที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้
- อะไรที่นักเรียนทำได้ดีแล้ว
อะไรที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin
- Show and Share
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- กระดาษ 80 ปอนด์
- ชุดและอุปกรณ์ที่นักเรียนเตรียมมาสำหรับการแสดง
- คอมพิวเตอร์
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาและตลอดทั้ง Quarter 2
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter 2 มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการสรุปสิ่งที่เรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter
2 เพื่อมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละคนข้อมูลในรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
อาทิเช่น Clip VDO ชาร์ตภาพเรื่องราว ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคืบหน้าของงานตนเอง
โดยให้เพื่อนและครูร่วมนำเสนอความคิดเห็น เพื่อเพิ่มเติมประเด็นต่างๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมสรุปตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้หลังเรียน Quarter 2
-
นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ประเมินตนเอง
พร้อมทั้งเขียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วางแผนสรุปงานในรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ
- วางแผนการทำงาน
- ประเมินตนเอง
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สารคดีสั้น ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียน (Mind Mapping. การ์ตูนช่อง หรืออื่นๆ
ตามความสนใจ)
- ประเมินตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา
รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
ชี้ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้ด้านการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่า
- การอธิบายความหลากหลายของข้อมูล
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์สาระการเรียนรู้กับมาตรฐานและตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “Secret of Money สิ่งสมมุติ มนุษย์ใช้”
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
กิจกรรม
Active learning
|
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
|
||||||
ว22101
|
ส22101
|
ส22102
|
ง22101
|
พ22101
|
ศ22101
|
ส22101
|
|
- หาบิลและจ่ายบิลด้วยเงินต่างประเทศ
- ค้นหาความหมายในธนบัตรและวิวัฒนาการของเงินไทย
สัญลักษณ์ในบิล
- วิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
- ปัจจัยส่งผลต่อค่าเงิน เงินฝืด
เง้นเฟ้อ
- การลงทุนธุรกิจ
- ออมเงิน
- จัดสรรเงินลงทุนตามความเสี่ยง
|
มาตรฐาน
ว 8.1
-
ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ
หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่าง ครอบคลุ่มและเชื่อถือได้
-
สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย
โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม
-
รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
-
วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ
-
สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ
ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
-
สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด
กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
-
บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ
ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ
เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม
-
จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ
และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ว
8.1 ม2/1-9)
|
มาตรฐาน ส1.1
-
เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตได้ (ส1.1 ม.2/9)
-
เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตัวในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ส1.1 ม.3/7)
มาตรฐาน ส1.2
มีมรรยาทของความเป็นศา-สนิกชนที่ดี (ส1.2 ม.2/2)
มาตรฐาน ส2.2
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารการเมืองการปกครอง
เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ (ส2.2 ม.2/2)
มาตรฐาน
ส 3.1
- วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม
- อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ
- เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- อภิปรายแนวทางการคุ้มครองสิทธิ
ของตนเองในฐานะผู้บริโภค
(ส 3.1 ม2/1-4)
มาตรฐาน
ส 3.2
- อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ
-
แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อบุคคล
กลุ่มคนและประเทศชาติ
- อภิปรายบทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
-
อภิปรายผลกระทบ
ที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ
เงินฝืด
- วิเคราะห์ผลเสียจากการว่างงานและแนวทางแก้ปัญหา
- วิเคราะห์สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ
(ส 3.2 ม3/1-6)
|
มาตรฐาน ส4.1
- ประเมินความ
น่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่างๆ
- วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
- เห็นความสำคัญ
ของการตีความ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่น่าเชื่อถือ
(ส 4.1 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 4.2
- อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ
และการเมืองของภูมิภาค
ต่าง
ๆ ในโลกโดยสังเขป
- วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลง
ที่นำไปสู่ความ ร่วมมือ และความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดจนความพยายาม
ในการขจัดปัญหาความขัดแย้ง
(ส 4.2 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 4.3
- วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา
และธนบุรี ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
- วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา
และธนบุรี ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
- ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา และธนบุรี
ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา
(ส 4.3 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 5.1
- ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรป
แอฟริกา และทวีปอื่นๆ ทั่วโลก
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรป
แอฟริกา และทวีปอื่นๆ ทั่วโลก
(ส 5.1 ม2/1-2)
มาตรฐาน ส 5.2
- วิเคราะห์การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคม อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและ
ทางสังคมของทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
- ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
- สำรวจ อภิปรายประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทวีป
อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
-
วิเคราะห์เหตุและผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ที่ส่งผลต่อประเทศไทย
(ส 5.2 ม2/1-4)
|
มาตรฐาน ง1.1
- เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการงาน
- มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า (ง1.1 ม.2 /1-3 )
- สามารถทำงานและอธิบายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
(ง1.1 ม.3 /1)
- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
(ง 1.1ม.4-6 /1)
-
สามารถสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการทำงานร่วมกัน
(ง 1.1 ม.4-6 /2 )
-
มีทักษะในการจัดการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /3)
- มีทักษะกระบวน
การแก้ปัญหาในการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /4)
- มีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศเพื่อการดำรงชีวิต
(ง 1.1 ม.4-6 /5)
- มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
(ง 1.1ม.4-6 /6 )
มาตรฐาน ง 2.1
เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต
สังคมและสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(ง 2.1 ม.2 /4)
มาตรฐาน ง 3.1
-
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบวีดีโอได้
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากจินตนาการอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
(ง 3.1 ม.3 /3-4)
|
มาตรฐาน พ1.1
-
ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์
สังคมและสติปัญญาในวัยรุ่นได้
(พ 1.1 ม.2/2)
มาตรฐาน พ 2.1เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (พ 2.1 ม.3/1
)
มาตรฐาน พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม
คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน
(พ 3.1 ม.3/2)
มาตรฐาน พ 3.2
- มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้ (พ 3.2 ม.3/3)
- นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยความมุ่งมั่นได้
(พ 3.2 ม.3/5)
|
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง
เงา น้ำหนัก และวรรณะสี
-
สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ
เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(ศ 1.1 ม.2/3)
|
จุดเน้น 3.1
มีส่วนร่มในการสร้าง
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
(ส 3.1ม.2/6)
จุดเน้น 3.2
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
(ส 3.2 ม.2/7)
จุดเน้น 4.1
ยอมรับความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในประเทศและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(ส 4.1 ม.2/8)
จุดเน้น 4.2
วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคของตนเองและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
(ส 4.2ม.2/9)
จุดเน้น 5
เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
(ส 5 ม.2/10)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น