เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week1


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้ อีกทั้งสามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome

1
08 – 12
ส.ค.
59
โจทย์ : 
สร้างฉันทะ แรงบันดาลใจปะทะปัญหา
ออกแบบการเรียนรู้

Key  Questions :
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเล่นเกม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร
ทำไมต้องมีทั้งเหรียญและธนบัตร?
ครื่องมือคิด :
·    Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งคำถามเกี่ยวกับเงินเหรียญและธนบัตร
·    Place mat  ตั้งคำถามเกี่ยวกับเหรียญในการเล่นเกม
·    Card & Chart  แสดงความคิดเห็นสิ่งที่จะนำมาใช้แทนเงิน
·    Show and Share
-          นำเสนอ Infographic ความหมายและขั้นตอนการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร
-          Card & Chart สิ่งที่จะนำมาใช้แทนเงิน
·    Infographic Infographic ความหมายและขั้นตอนการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร
·    BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับเงินมีหลายแบบ แต่ละแบบมีขนาด สี สัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน วิธีการผลิต
·    DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·    AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เงินเหรียญและธนบัตรไทย
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
-     ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน 4 กลุ่ม เล่นเกม “รวมเงิน(เหรียญ 25, 50 สตางค์ 1, 2, 5 และ 10 บาท)
-     ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะรวมเงินอย่างไรให้ได้ 3.25 บาท โดยหยิบคนละครั้ง?” (ครูเปลี่ยนจำนวนเงินในเกมต่อไป 5.75, 10.50 และ 8.5o บาท)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละร่วมกันแสดงความคิดเห็นตั้งคำถามกับเหรียญที่ตนเองได้ (25, 50 สตางค์ 1, 2, 5 และ 10 บาท) และนำเสนอในรูปแบบ place mat
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้าไม่ใช้เงิน นักเรียนคิดว่าจะใช้สิ่งใดแทนได้?”
ชง :
-        นักเรียนเขียน Card & Chart สิ่งที่คิดจะนำมาใช้แทนเงิน พร้อมให้เหตุผลประกอบ
-        นำเสนอ Card & Chart ของตนเอง
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง :
-     ครูนำเงินธนบัตรและเหรียญให้นักเรียนสังเกต
-     ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามกับเงินเหรียญและธนบัตร (เช่น ทำไมเงินมีหลายแบบ แต่ละแบบมีขนาด สี สัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน เงินมีวิธีการผลิตอย่างไร)
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-           นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-           นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-           นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-           ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของตนเอง โดยใช้เครื่องมือคิด Brainstorms
ใช้ : Flow chart  ขั้นตอนการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร

วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-      นำเสนอและร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร
-      ครูและนักเรียนตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
การบ้าน นักเรียนออกแบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเอง
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบTimeline
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
การบ้าน นักเรียนบิลต่างๆ มาในวันจันทร์

ภาระงาน
 - ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการเล่นเกม
วิเคราะห์ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้จากเงินเหรียญและธนบัตร และร่วมกันนำเสนอ
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ออกแบบและบันทึกรายรับ -รายจ่าย ของตนเอง
- นักเรียนบิลต่างๆ มา

ชิ้นงาน
-    Placemat ตั้งคำถามกับเกมเหรียญและธนบัตร
-    Card & Chart สิ่งที่จะนำมาใช้แทนเงิน
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
-    Infographic ขั้นตอนการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
-    สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-    สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น




ตัวอย่างกิจกรรม
ในสัปดาห์แรกของการเรียนรู้ PBL

  วันจันทร์ ครูสร้างแรงให้พี่ๆ อยากเรียนรู้ โดยการเล่นเกม "รวมเงิน"

  


นักเรียนสังเกตและตั้งคำถามเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตร ค้นหาข้อมูลจากการตั้งคำถาม


วันอังคาร พี่ๆ นำเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้ามา จากการตั้งคำถาม



ดูคลิปวีดีโอการผลิตเงินเหรียญและธนบัตร (การผลิตเงินดอลล่า)




วันพุธ พี่ๆ สังเกตบิลต่างๆ ครูให้โจทย์ "ถ้าจะต้องจ่ายบิลด้วยเงินต่างประเทศจะทำอย่าางไร? (พี่ๆ สังเกตว่าเป็นเงินประเทศอะไรจากธนบัตรที่ได้)               







ตัวอย่างชิ้นงาน




 การผลิตเหรียญและธนบัตร

  
 ชักเย่อความคิด "ถ้าไม่ม่เงินเราจะซื้อสินค้า อย่างไร"

 การ์ตูนช่อง จ่ายค่าบิล



เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ใน Quarter 2


สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนครูสร้างแรงด้วยการพาพี่ๆ เล่นเกมเกี่ยวกับการรวมเงิน พี่ๆ ให้ความสนใจและสนุกกับเกมที่เล่น หลังจากนั้นครูได้ให้ธนบัตรกับพี่ๆ แต่ละกลุ่มพร้อมกับตั้งคำถามเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตร (ไม่ได้เรียนรู้ตามแผนที่ได้วางไว้ในตอนแรกเนื่องจากพี่ๆ มีกิจกรรมอื่นๆ ทำให้เวลาน้อยครูจึงเรียนรู้เหรียญและธนบัตรในวันเดียวกัน) พี่ๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น พี่เพชร “เหรียญต่างๆ ทำมาจากอะไร ผลิตที่ไหน” พี่อังๆ ทำไมต้องมีคนสำคัญหรือพระมหากษัตริย์ในเหรียญและธนบัตร” พี่ปังปอนด์ “ทำไมขนาดไม่เท่ากัน สีไม่เหมือนกัน” และในวันนี้ครูให้พี่ๆ ลองหาคำตอบจากสิ่งที่ถาม โดยแบ่งกลุ่มจากการเล่นเกมในครั้งแรก
    วันอังคาร พี่ๆ ได้นำเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้ามาจากคำถาม ซึ่งทุกคนดูสนใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอและมีคำถามหลังจากเพื่อนนำเสนอ เช่น ทำลายน้ำอย่างไร เหรียญต้องออกแบบนานมากจริงหรือ หลังจากพี่ๆ นำเสนอเรียบร้อย พร้อมกับคำถามมากมาย ซึ่งครูยังไม่ได้ให้พี่ๆ ตอบคำถาม ทุกคนได้ดูสารคดี การผลิตธนบัตรของสหรัฐอเมริกา และการปลอมเงิน ทุกคนให้ความสนใจมาก และเริ่มอยากที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเงิน
    วันพุธครูได้นำบิลและเงินต่างประเทศมาให้พี่ๆ สังเกต (ซึ่งพี่ ๆ จะได้ทำในสัปดาห์ที่ 2) พี่ๆ สงสัยบิลแปลกๆ ที่ไม่เคยเห็น เช่น บิลบัตรเครดิต บิลโทรศัพท์ ฯลฯ มีคำถามมากมาย เช่น พี่คอร์ป “ครูครับบิลอะไรครับ จ่ายยังไง” “พี่เพชร “บัตรเครดิตกับบัตรเดบิตต่างกันอย่างไรครับ จ่ายเงินอย่างไร” ครูคะ/ครับ “บิล 7-11, วัตสัน” ครูจึงให้เงินต่างประเทศกับพี่ๆ คนละ1 ใบ โดยแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน และตั้งคำถาม “ถ้าครูต้องจ่ายบิลแต่มีเงินประเทศต่างๆ จะต้องทำอย่างไร?” พี่ๆ ช่วยกันคิด เช่น พี่ออสติน “ต้องไปแลกเงินก่อนครับครู” จากนั้นพี่ต่างพากันหาวิธีจ่ายบิลด้วยเงินที่ตนเองได้ โดยทำเป็นการ์ตูนช่อง และนำเสนอในท้ายชั่วโมง พี่ๆ สนุกกับการเรียนรู้อัตราแลกเป็น หน่วยของเงินประเทศต่างๆ ที่ตนเองได้และของเพื่อน ๆ
    วันพฤหัสบดีพี่ๆ ไม่ได้เรียนรู้ PBL ตามตารางเรียน เนื่องจากมีกิจกรรมดำนาโรงเรียนในช่วงเช้า แต่ช่วงบ่ายพี่ๆ ได้เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ใน Quarter 2 ซึ่งพี่ๆ เลือกเรื่องเงิน โดยให้เหตุผลต่างๆ กัน เช่น เพราะจะได้เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจด้วย เราใช้เงินทุกวัน
    วันศุกร์ปิดเรียนเนื่องจากหยุดเรียนวันแม่

    ตอบลบ