เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week4





เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม บุคคลสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเงินของแต่ละประเทศ อีกทั้งนำความรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

4
28 ส.ค.– 
1 ก.ย.
59
โจทย์ : วิวัฒนาการของเงิน
-     ประวัติศาสตร์
-    สังคม วัฒนธรรม
-    สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน

โจทย์ : วิวัฒนาการของเงิน
-     ประวัติศาสตร์
-    สังคม วัฒนธรรม
-    สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน

Key  Questions :
-   ในสมัยก่อนใช้วิธีใดบ้างในการซื้อสินค้าต่างๆ?
-   รูปภาพที่ปรากฏในเหรียญหรือธนบัตรมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนในประเทศนั้นๆ หรือไม่อย่างไร?       
-   ทำไมเงินแต่ละประเทศมีค่าไม่เท่ากัน ใช้กฎเกณฑ์ใดบ้างวัดค่าของเงินประเทศนั้นๆ?
ครื่องมือคิด :
·     Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของเงินแต่ละประเทศ
·     Jigsaw ความหมายของเงินประเทศต่างๆ
·     Round Robin
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการตั้งคำถามวิความหมายที่ซ้อนในเงินแต่ละประเทศ
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการตั้งคำถามในกิจกรรม
·     Show and Share
-   ชาร์ตความรู้เงินต่างประเทศ
-   นำเสนอการออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง
·     BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ใน กิจกรรม
·     AAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·     AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เงินเหรียญสมัยก่อนและหอยเบี้ย
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “[เหรียญ ธนบัตร] เงินตราโบราณของไทย”
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนกิจกรรมสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูนำเงินประเทศต่างๆ มาให้นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เงินแต่ละประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทำไมไม่ใช้เงินเหมือนกัน?
เชื่อม : 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามกับเงินประเทศต่างๆ
-     นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับเงินประเทศต่างๆโดยใช้เครื่องมือคิด Brainstorms (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ประเทศนั้น อัตราการแลกเปลี่ยนเงินไม่เท่ากัน ตามระบบเศรษฐกิจ)
-     นักเรียนออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับเงินในแต่ละประเทศ โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากเมื่อวาน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ประเทศนั้น อัตราการแลกเปลี่ยนเงินไม่เท่ากัน ตามระบบเศรษฐกิจ)
-     นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-      นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
Flip Classroom (บิล)
-          นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบิลแต่ละสัปดาห์
-          นำเสนอสิ่งที่จะทำต่อในสัปดาห์ต่อไป
ภาระงาน
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาและความเหมือนหรือแตกต่างของเงินแต่ละประเทศ
การออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับ เงินที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศที่ตนเองสนใจ)
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
ค้นคว้าข้อมูล พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล และร่วมกันนำเสนอ

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้เงินต่างประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
- เข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม บุคคลสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเงินของแต่ละประเทศ
- นำความรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลและอัตราการแลกเปลี่ยนเงินได้
- วางแผนปฏิทินการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น


ตัวอย่างกิจกรรม




 







ตัวอย่างชิ้นงาน






 





 





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเงินต่างประเทศ โดยการเรียนรู้ได้ปรับเปลี่ยนแผนเล็กน้อยเนื่องจากพี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสกุลเงินต่างชาติแล้ว จึงเชื่อมโยงไปในเรื่องของค่าเงิน โดยครูได้ให้พี่ๆ ได้ทบทวนความรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อน หลังจากนั้นจึงดูคลิปวีดีโอ และนักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มเพื่อดูความแตกต่างของค่าเงินในแต่ละทวีป และนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ฟัง โดยครูให้โจทย์ที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม (ทวีปของตนเอง) ค่าเงินใดสูงสุดและต่ำสุด ปัจจัยใดส่งผลกับค่าเงิน ถ้าจะต้องทำให้เงินที่ค่าต่ำสูงเท่าประเทศที่มีค่าเงินสูงจะต้องทำอย่างไร ในทวีปของตนเองจะรวมกลุ่มใช้เงินเดียวกันจะตั้งชื่อว่าอย่างไร
    จากการหาข้อมูลและคิดเชื่อมโยง พี่ๆ สามารถเชื่อมโยงสู่สิ่งที่ต้องการหาคำตอบได้
    พี่เพลง “ครูครับ ค่าเงินแข็งและเงินอ่อน มีผลกับอะไรบ้าง ผมคิดว่าเศรษฐกิจ การส่งออกแน่เลย”
    พี่บอล “ครูครับผมจะนำมาเทียบค่าเงินกับเงินไทยครับจะได้รู้ว่าเงินทวีปผมประเทศไหนสูงสุด ต่ำสุด”
    พี่อัง อัง “การส่งออกมีผลกับค่าเงินค่ะ หนูเจอ”
    พี่ๆ ใช้เวลาในวันอังคารทำงานต่อจากวันจันทร์ และในช่วงท้ายก่อนหมดชั่วโมงพี่ๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและให้เพื่อนๆ ได้ซักถาม
    วันพุธพี่ๆ นำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลบิลที่ตนเองได้ศึกษามา เช่น
    พี่มายด์ “สัญลักษณ์การไฟฟ้าเปลี่ยนมาเป็นเส้นสีม่วงและสีเหลือง แสดงถึงความรุ่งโรจน์ และมีพลวัตร อักษร PE A เป็นตัวหนาอยู่ด้านล่างแสดงถึงความแข็งแกร่ง และรากฐานมั่นคงค่ะ”
    พี่บีท “CP ALL เป็นเจ้าของเซเว่น อีเลฟเว่น เจ้าของธุรกิจการค้าปลีก ส่ง และเคาร์เตอร์ เซอร์วิท เป็นตัวแทนชำระค่าสินค้าและบริการค่ะ”
    พี่ปุณ “ EMS คือการจัดส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ จะต้องมีค่าใช้จ่าย จากน้ำหนัก บอกเวลาที่จัดส่ง ตัวบิลจะมีขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุน และบิลจะคล้ายกับเซเว่น อีเลฟเว่น”
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ ได้ทำ อินโฟกราฟิก จากข้อมูลที่ได้นำเสนอเรื่องเงินในแต่ละทวีป โดยการจับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป้าหมายคือการนำเสนอให้ง่ายต่อความเข้าใจของเด็กประถม พี่ๆทำออกมาได้ค่อยข้างเข้าใจง่าย
    วันศุกร์พี่ๆ และครูได้สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ เช่น
    พี่ปังปอนด์ “ค่าเงินสูงสุดต่ำสุดในแต่ละทวีปครับ”
    พี่เพชร “เศรษฐกิจครับ”
    พี่มิ้ว “สัญลักษณ์ในบิลค่ะ” และเพื่อนๆ ช่วยกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสรุปสัปดาห์ในรูปแบบของ Mind Mapping
    และการบ้านในสัปดาห์นี้ พี่ๆ ในเลือกหาความหมายในเงินของประเทศที่ตนเองสนใจค่ะ และจะพูดคุยกันในสัปดาห์ที่ 5

    ตอบลบ