เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week3




เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม บุคคลสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเงินของแต่ละประเทศ อีกทั้งนำความรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้





Week
Input
Process
Output
Outcome

3
21 – 25
ส.ค.
59
โจทย์ : วิวัฒนาการของเงิน
-     ประวัติศาสตร์
-    สังคม วัฒนธรรม
-    สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน

Key  Questions :
-   ในสมัยก่อนใช้วิธีใดบ้างในการซื้อสินค้าต่างๆ?
-   รูปภาพที่ปรากฏในเหรียญหรือธนบัตรมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนในประเทศนั้นๆ หรือไม่อย่างไร?       
-   ทำไมเงินแต่ละประเทศมีค่าไม่เท่ากัน ใช้กฎเกณฑ์ใดบ้างวัดค่าของเงินประเทศนั้นๆ?
ครื่องมือคิด :
·     Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของหอยเบี้ยและเหรียญในสมัยก่อน
·     Jigsaw เงินไทยในยุคต่างๆ
·     Round Robin
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการตั้งคำถามวิวัฒนาการของเงิน
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการออกแบบการเรียนรู้
·     Show and Share
-      Time line วิวัฒนาการของเงินของไทย
-   นำเสนอการออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง
·     Web ออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิล
·     BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter 2
·     DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·     AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เงินเหรียญสมัยก่อนและหอยเบี้ย
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “[เหรียญ ธนบัตร] เงินตราโบราณของไทย”
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนกิจกรรมสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูนำหอย (เบี้ย) และเงินเหรียญสมัยก่อน ให้นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่า 2 สิ่งนี้เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันหรือไม่เพราะเหตุใด?
เชื่อม : 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามกับ ความเชื่อมโยงของหอยเบี้ยกับเงินเหรียญ
-      ครูเล่าความเป็นมาของหอยเบี้ยให้นักเรียนฟัง
ชง :  นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “[เหรียญ ธนบัตร] เงินตราโบราณของไทย”  
(https://www.youtube.com/watch?v=TedahRrnKKY)
เชื่อม : 
-  นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับเงินไทยในสมัยต่างๆ โดยใช้เครื่องมือคิด Brainstorms (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละสมัยไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ในยุคนั้น)
-  นักเรียนแบ่งกลุ่มออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเงินตราไทย โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
ออกแบบนำเสนองานในรูปแบบของ เขียน Timeline หน่วยเงินของประเทศไทย 
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากเมื่อวาน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละสมัยไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ในยุคนั้น)
-     นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-      นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

Flip Classroom
นำเสนอการออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง ในรูปแบบ Web
ภาระงาน
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาและความแตกต่างของเงินในสมัยก่อน กับปัจจุบันและส่งผลอย่างไรในอนาคต
การออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับ Time line วิวัฒนาการของเงินที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศที่ตนเองสนใจ)
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
ค้นคว้าข้อมูล พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
ออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง  

ชิ้นงาน
- Time line วิวัฒนาการของเงินของไทย
- Web ออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง  
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
- เข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม บุคคลสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเงินของแต่ละประเทศ
- นำความรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลและอัตราการแลกเปลี่ยนเงินได้
- วางแผนปฏิทินการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างกิจกรรม









 

 







ตัวอย่างชิ้นงาน








 



 



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 สิงหาคม 2559 เวลา 22:03

    ในสัปดหานี้ พี่ ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเงิน พี่ ๆ ได้สังเกตเหรียญและตื่นเต้นกับเหรียญสมัยก่อน เช่น เหรียญบาทในปีก่อน 2500 และวันนี้พี่ออสตินได้นำเหรียญต่างประเทศมาให้เพื่อนๆ ได้สังเกตด้วย
    พี่เพชร "ครูครับเหรียญยิ่งนานยิ่งมีค่ามากใช่ไหมครับ"
    พี่คอป "ที่บ้านผมมีเหรียญแบบนี้เหมือนกันครับ"
    พี่ปังปอนด์ " เหรียญปลอมได้ไหมครับ"
    หลังจากนั้นพี่ๆ ได้ลองตั้งคำถามและออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง
    พี่เพลง "ต้องหาข้อมูลและมานำเสนอ ครับ"
    พี่อัง อัง แบ่งกลุ่มทำเป็น Timeline ค่ะ"
    ในวันอังคาร พี่ๆ นำเสนอความรู้ที่ได้ค้นคว้ามา โดยแต่ละกลุ่มมีการหาข้อมูลมาเล่าให้เพื่อนฟัง เช่น กลุ่มพี่เพชร "เงินทำมาจากโลหะ สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรีใช้เงินพดด้วง"
    กลุ่มพี่ไอดิน มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในเงินพดด้วงค่ะ"
    กลุ่มอื่นๆ มีข้อมูลเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ และหลังจากนำเสนอ ครูตั้งคำถามกับพี่ๆ ต่อ "ในธนบัตรมีความหมายอะไรซ่อนอยู่บ้าง" พี่ๆ ได้ค้นคว้าคนละธนบัตร แตกต่างกัน แต่มีบางคนซ้ำกันบ้าง
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ นำเสนอ
    พี่ไอดิน พี่บีท "ในธนบัตรมีที่สังเกตสำหรับคนตาบอด สังเกต มีรูปในหลวง และกษัตริย์ไทยสมัยก่อน ฯลฯ"
    พี่ออสติน พี่อังอัง "ธนบัตร ทำมาแล้ว 16 แบบ ซึ่งมีการเปลี่ยนจากรัฐบาลสยามมาใช้รัฐบาลไทยสมัย ร.8 และสมัย ร.7-8 จะมีการผลิตน้อยเนื่องจากสงครามโลก"
    พี่เพลง พี่ณัต " ในธนบัตร จะมีพระราชกรณียกิจ และวลีสั้นๆ เช่น ร. 5 พระราชกรณียกิจสำคัญคือทรงเลิกทาส"
    พี่เพชร พี่ติ "ธนบัตร 20 และอื่นๆ มี ลายเซ็นรัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเรทศไทย"

    บิล ในสัปดาหานี้พี่ๆ ได้เขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและยังไม่รู้ในบิล จากนั้นครูตั้งคำถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์และชื่อในบิล เพื่อให้พี่ๆ ได้หาความรู้และนำเสนอในสัปดาห์หน้าให้เพื่อนๆ และครูฟัง

    ตอบลบ