เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week5


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมีความเกี่ยวข้องทำให้เกิดเหตุการณต่างๆ เช่นภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน

Week
Input
Process
Output
Outcome

5
05 - 09
ก.ย.
59
โจทย์ : เศรษฐศาสตร์
-     ภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อ
-     การขาดสภาพคล่อง
-     ทุนนิยม สังคมนิยม

Key  Questions :
- ทำไมไม่ผลิตเงินออกมาเยอะๆ?
- ทำไมค่าของเงินบนธนบัตรบางประเทศจึงมีค่าน้อยและมากแตกต่างกัน?
- ระบบเศรษฐกิจในโลกที่แต่ละประเทศใช้กันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
ครื่องมือคิด :
·     Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามทำไมวิกฤติเศรษฐกิจ
·     Jigsaw วิกฤติเศรษฐกิจ
·     Round Robin
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการตั้งคำถามปัจจัยที่ทำให้เกิด วิกฤติเศรษฐกิจ
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันการตั้งคำถามในกิจกรรม
·     Show and Share
-   คลิปข่าว วิกฤติเศรษฐกิจ
-   นำเสนอการออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง
·     BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ใน กิจกรรม
·     AAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·     AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดีโอ “วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย”
และ “ดอลลาร์ซิมบับเว สกุลเงินที่มีค่าเงินต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์”
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนกิจกรรมสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเปิดคลิปวีดีโอ “ดอลลาร์ซิมบับเว สกุลเงินที่มีค่าเงินต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์” และ“วิกฤตต้มยำกุ้งในไทย” ให้นักเรียนสังเกต
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามจากคลิป และประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤต โดยเขียนในรูปแบบ Web (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ประเทศนั้น อัตราการแลกเปลี่ยนเงินไม่เท่ากัน ตามระบบเศรษฐกิจ)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จาก 10 วิกฤตเศรษฐกิจ
โลก นักเรียนคิดว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เกี่ยวข้องประเทศไทยหรือไม่อย่างไรบ้าง?”
    1) วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1929
    2) วิกฤติเศรษฐกิจในอาเจนติน่า ค.ศ. 1999 - 2002
    3) วิกฤติเศรษฐกิจในกรีซ ค.ศ. 2009
   4) วิกฤติการเงินในรัสเซีย ค.ศ. 1998
   5) วิกฤติการเงินในสวีเดน ค.ศ. 1990 -1994
   6) ต้มยำกุ้งในไทย ค.ศ. 1997-1999
   7) ฟองสบู่ธุรกิจดอตคอม ค.ศ. 1995-2000
   8) ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ค.ศ. 1986-1990
   9) วิกฤติน้ำมันในยุค 1970
  10) วิกฤติซับไพร์มหรือเรียกอีกอย่างว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
เชื่อม : 
-     นักเรียนแบ่งกลุ่มออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับ10 วิกฤตเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
-     นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูล
ใช้ : นักเรียนออกแบบการนำเสนอวิกกฤตการเงินต่างๆ ในรูปแบบ รายการข่าวหรือคลิปสารคดี
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากเมื่อวาน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจ เงินแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สื่อให้ให้ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ประเทศนั้น อัตราการแลกเปลี่ยนเงินไม่เท่ากัน ตามระบบเศรษฐกิจ)
-     นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของงาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-      นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองาน (คลิปข่าว วิกฤติเศรษฐกิจ)
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
Flip Classroom (บิล)
-          นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบิลแต่ละสัปดาห์
-          นำเสนอสิ่งที่จะทำต่อในสัปดาห์ต่อไป
ภาระงาน
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ
การออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง เช่น การเมือง สังคม ระบบทุน)
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
ค้นคว้าข้อมูล พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับบิล และร่วมกันนำเสนอ

ชิ้นงาน
- Web ตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤต
- คลิปข่าววิกฤติการเงินหรือเศรษฐกิจ
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมีความเกี่ยวข้องทำให้เกิดเหตุการณต่างๆ เช่นภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตได้
- วางแผนออกแบบกิจกรรมได้อย่างมีเป้าหมาย
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น


     ตัวอย่างกิจกรรม
     










 











ตัวอย่างชิ้นงาน









ชิ้นงานสัปดาห์นี้จะเป็นในรูปแบบคลิป

คลิปงาน


การบ้านสัปดาห์ที่ผ่านมา







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ผ่านวิกฤตแบบต่างๆ โดยพี่ๆ ได้ดูคลิปวิกฤตต้มยำกุ้ง และได้เขียน Card and Chart เป็นคู่สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป และครูตั้งคำถาม
    พี่เพลง “ตอนเกิดต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไม่ค่อยดี คนล้มละลายเยอะครับ”
    พี่เพชร “ไทยใช้หนี้ครั้งนั้นยังไม่หมดครับ ใช้ได้เฉพาะไอเอ็มเอฟ”
    พี่ปังปอนด์ “ครูครับตอนนี้เราก็เป็นหนี้เหรอครับ”
    หลังจากนั้นพี่ๆ จับฉลากแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก และนำเสนอในรูปแบบรายการทีวี พี่ๆ แต่ละกลุ่มเลือกนำเสนอในรูปแบบตลก เพราะคิดว่าเหตุการณ์เครียดแล้วขอนำเสนอแบบขำๆ
    วันอังคาร ครูและพี่ๆ พูดคุยกันถึงควบคือหน้าของงานและปัญหาที่เกิดขึ้น
    พี่อังๆ “ได้ข้อมูลในการนำเสนอครบแล้วค่ะ เหลือถ่ายทำ”
    พี่ไอดิน “เหลือข้อมูลบางอย่างค่ะ เพื่อนกำลังหาอยู่ค่ะ”
    หลังจากนั้นพี่ๆ ทำงานต่อ และเตรียมนำเสนอในวันพฤหัสบดี และการบ้านเรื่องบิลในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องของบาร์โค๊ด พี่ๆ นำเสนอในวันพุธ
    วันพุธพี่ๆ มีกิจกรรมอื่นจึงไม่ได้นำเสนอเรื่องบาร์โค๊ด เลื่อนไปนำเสนอในวันพฤหัสบดีหลังจากดูคลิปวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกของแต่ละกลุ่ม
    วันพฤหัสบดีพี่ๆ ทุกกลุ่มได้ดูงานของแต่ละกลุ่มและสรุปความเข้าใจร่วมกัน จากนั้นนำเสนอเรื่องบาร์โค๊ด
    พี่ปุณ “บาร์โค๊ด มีลักษณะเป็นแท่งและมีตัวเลขอยู่ด้านล่าง”
    พี่มายด์ “มีสองสี สีขาวและดำ”
    พี่เพลง “มีแบบแถบและQR code”
    วันศุกร์พี่ๆ สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันก่อนสรุปสัปดาห์และบันทึกกิจกรรม PBL2 จากนั้นครูและพี่ๆ เรียนรู้การทำปลอกเบาะรองนั่งร่วมกัน พี่ๆ สนุกและบอกว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ตนเองได้ทำ เห็นความสามัคคีและการสามารถถ่ายทองสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ เช่น
    พี่มายด์ “ครูค่ะหนูดูแล้วเข้าใจเร็วมาก สอนเพื่อนได้หลายคนแล้วด้วย”
    พี่เพชร “ผมสานกล่องนมดีกว่าครับ เย็บผมไม่ค่อยถนัด ผมเย็บธงในทักษะชีวิตแล้ว”

    ตอบลบ