เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week2



เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้ อีกทั้งสามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome

2
14 – 18
ส.ค.
59
โจทย์ : 
สร้างฉันทะ แรงบันดาลใจปะทะปัญหา
ออกแบบการเรียนรู้

Key  Questions :
นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อต้องจ่ายบิลด้วยเงินต่างประเทศ?
นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
ครื่องมือคิด :
·     Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจะนำเงินไปจ่ายค่า สาธารณูปโภค
·     Round Robin ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 
·     Card & Chart  
-  เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
-  เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ 
·     Show and Share
-   นำเสนอ การจ่ายบิลของตนเอง
-   ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 
·     Flow chart การแลกเงิน และจ่ายบิล
·     Think pair share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·     Black board share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·     Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
·     BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter 2
·     DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·     AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เงินเหรียญและธนบัตรไทย
- อินเทอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนกิจกรรมสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูแจกธนบัตรต่างประเทศให้นักเรียนคนละ 1 ฉบับ พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้านักเรียนจะธนบัตรฉบับไปจ่ายค่า ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ (นักเรียนเตรียมมาจากการบ้านในสัปดาห์ที่ 1) นักเรียนจะทำอย่างไร?”
เชื่อม : 
-   นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจะนำเงินไปจ่ายค่า สาธารณูปโภค
-   นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างๆ
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-   นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-   นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-   ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม :  นักเรียนออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้เกี่ยวกับการขั้นตอนการจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค โดยใช้เครื่องมือคิด Flow chart ร่วมกันนำเสนอ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : 
-     ครูทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
-     ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใด?”
เชื่อม :  นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมบอกเหตุผล หน่วยที่อยากเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด Card & Chart
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่าอย่างไรให้น่าสนใจ เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนตั้งชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด Think pair share และ Black board share 
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มแสดงความคิดเห็นและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด  Round Robin และ Show and Share
ใช้ : นักเรียนร่วมกันประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้และสรุปลงในกระดาษชาร์ต
การบ้าน นักเรียนวิเคราะห์และเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ A4 
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้และสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยาก สรุปลงในกระดาษชาร์ต
การบ้าน นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
วันศุกร์  (2 ชั่วโมง)
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
 - ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการเล่นเกม
วิเคราะห์ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้จากการนำเงินไปจ่ายบิลต่างๆ
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- บันทึกรายรับ -รายจ่าย ของตนเองจากกิจกรรมคู่ขนาน

ชิ้นงาน
-    Flow chart ขั้นตอนการจ่ายบิล
-    Card & Chart  เรื่องที่อยากเรียนรู้และสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง
-    ป้ายชื่อหน่วยหารเรียนรู้
-    ปฏิทินการเรียนรู้
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลและอัตราการแลกเปลี่ยนเงินได้
- วางแผนปฏิทินการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น



ตัวอย่างกิจกรรม














ตัวอย่างชิ้นงาน















 





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้เป็นการออกแบบวางแผนการเรียนรู้ของพี่ๆ โดยในวันจันทร์พี่ๆ ได้ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้โดยได้ชื่อหน่วยว่า “Secret of money สิ่งสมมุติ มนุษย์ใช้” เกิดจาการที่มีทั้งกลุ่มตั้งชื่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมกัน จากนั้นพี่ๆ ได้เขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้เป็นคู่ และนำของแต่ละกลุ่มมาสนทนาร่วมกันเพื่อที่จะนำข้อซ้ำกันออก
    วันอังคารพี่ๆ จับฉลากคู่กันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้และนำมาสนทนาแลกเปลี่ยนกัน และสุดท้ายพี่ๆ ช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้ว อยากรู้ ปฏิทินการเรียนรู้ รวมทั้งชื่อหน่วยลงในกระดาษแผ่นใหญ่เพื่อติดไว้ในชั้นเรียน
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ เขียนสรุปความรู้ก่อนเรียนของตนเอง และในช่วงบ่ายสรุปสัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนรู้เนื่องจากวันศุกร์ เป็นวัน Home school พี่ๆ ไม่ได้มาโรงเรียนและมีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ได้เรียนรู้

    ตอบลบ