เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1) เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทางการเงิน รวมทั้งสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2) เพื่อให้เข้าใจและแปลความหมายที่อยู่ในบิล รวมทั้งสามารถนำมาปรับในชีวิตประจำวันได้

Week7

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและเห็นความจำเป็นของการออมเงินและการลงทุนประเภทต่างๆ ในยุคปัจจุบันที่เงินฝากจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ อีกทั้งสามารถนำความรู้เรื่องการออมเงินและการลงทุนไปประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome

7
12 – 16
ก.ย.
59
โจทย์ : การออมและการลงทุน
- เงินฝาก/กู้ (ดอกเบี้ยเงิน)
- กองทุน หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตร
- ประกันชีวิต
- ภาษีต่างๆ
- ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุน

Key Questions :
- ถ้าเราฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างเดียว โดยไม่มีการลงทุนอย่างอื่น เพียงพอหรือไม่กับการใช้ในวัยเกษียณ?
- นักเรียนจะบริหารจัดการเงินห้องอย่างไรให้เพิ่มขึ้น?
ครื่องมือคิด :
·     Brainstorms
-     ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออมประเภทต่างๆ
-     ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในกิจกรรม
·     Jigsaw การลงทุนกองทุนรวม พันธบัตร ตราสารหนี้ ประกัน หุ้น  
·     ชักเย่อความคิด ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อรอรับดอกเบี้ยอย่างเดียวจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ในการใช้ในวัยเกษียณ?
·     Round Robin
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในกิจกรรม
-     แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับภาษี, บิล/ใบเสร็จ (ข้อมูลค่าตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ
·     Show and Share
-   นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการออม
-   เสนอการออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับบิลของตนเอง
·     BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ใน กิจกรรม
·     AAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·     AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน/วิทยากร (ครูน้ำผึ้ง)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- โบร์ชัวร์การออมเงินและการลงทุนของธนาคารต่างๆ
- อินเทอร์เน็ต
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนกิจกรรมสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ชักเย่อความคิด ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อรอรับดอกเบี้ยอย่างเดียวจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ในการใช้ในวัยเกษียณ?
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง โดยใช้เครื่องมือการคิด ชักเย่อความคิด
ชง :
- ครูนำโบร์ชัวร์เกี่ยวกับการลงทุน การออมของธนาคารต่างๆ มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนการออมมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับการประกอบการ หรือทำธุรกิจ โดยเขียนในรูปแบบ  Web (เป้าหมายความเข้าใจ การวางแผนจัดการ, กฎหมาย/สิทธิผู้บริโภค, ภาษี, บิล/ใบเสร็จ (ข้อมูลค่าตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
เชื่อม : 
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับการลงทุน การออม โดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
นักเรียนจับคู่ออกแบบโจทย์ (เป้าหมายการเรียนรู้ การคำนวณ ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้ กองทุน หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตร ประกันชีวิต ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุน)
นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากเมื่อวาน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจ การคำนวณ ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้ กองทุน หุ้น ตราสารหนี้) สามารถนำไปใช้ได้จริง
-     นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของงาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-      นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองาน (คลิปข่าว วิกฤติเศรษฐกิจ)
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
Flip Classroom (บิล)
-          นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบิลแต่ละสัปดาห์
-          นำเสนอสิ่งที่จะทำต่อในสัปดาห์ต่อไป
ภาระงาน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการออมและการลงทุน (ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้ ปัจจัยที่ส่งผลกับการออมและการลงทุน)
-  ออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้)
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-    บันทึกรายรับ-รายจ่ายการลงทุน (PBL คู่ขนาน) ของตนเอง

ชิ้นงาน
แผนภูมิการลงทุนตามความเสี่ยง
- Flow chart แผนงานการลงทุน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้ :
-     เข้าใจและเห็นความจำเป็นของการออมเงินและการลงทุนประเภทต่างๆ ในยุคปัจจุบันที่เงินฝากจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ
-     สามารถนำความรู้เรื่องการออมเงินและการลงทุนไปประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตได้
- วางแผนออกแบบกิจกรรมได้อย่างมีเป้าหมาย
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น



ตัวอย่างกิจกรรม 

 


 





























ตัวอย่างชิ้นงาน

 ชักเย่อความคิด
























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ เรียนรู้เรื่องการออมแบบต่างๆ ชักเย่อความคิดเกี่ยวกับการฝากเงินไว้อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่เมื่อถึงวัยเกษียณ ซึ่งพี่ๆ ส่วนใหญ่บอกว่าคงไม่พอ เช่น พี่เพลง “ไม่พอครับเพราะมีลูกหลานด้วย”
    พี่บอล “ถ้าเจ็บป่วยเงินส่วนนี้ก็ไม่พอครับ”
    พี่อังอัง “ไม่พอตอนแก่ไปต้องซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้นค่ะ”
    พี่โจเซฟ “ฝากทุกเดือนรวมกับเงินบำนาญน่าจะพอ แต่ถ้าไม่รวมกับเงินฝากก็ไม่น่าจะพอครับ”
    หลังจากนั้นครูให้พี่ๆ ดูโบว์ชัวร์ธนาคารต่างๆ ที่เกี่ยวกับเงินฝาก และลองให้พี่ๆ เลือกการออมเงินให้ได้ดูเบี้ยมากที่สุดในระยะเวลา 2 ปี
    พี่นัท “ครูครับเงินฝากมีการหักภาษีด้วยใช่ไหมครับ”
    พี่อังๆ “ครูคะการทำประกันเป็นการฝากเงินไหมค่ะ”
    จากนั้นพี่ๆ เลือกการออมเงินของตนเอง และในท้ายชั่วโมงครูน้ำผึ้งได้มาเล่าประสบการณ์การทำประกันของตนเองให้พี่ๆ ฟัง
    วันอังคาร ครูให้โจทย์พี่ๆ เกี่ยวกับการลงทุนประเภทต่างๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ พันธบัตร ประกันชีวิต พี่ๆ แบ่งกลุ่มกันสืบค้น จากนั้นมานำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ค้นคว้ามาให้เพื่อนๆ และครูฟัง เมื่อทุกคนนำเสนอเรียนร้อยครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “แล้วเราจะเลือกลงทุนแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเรา” พี่ๆจะพูดคุยกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดี
    วันพฤหัสบดีจากคำถามที่ครูถามในวันอังคาร ครูให้พี่ๆ ลองทำแบบทดสอบความเสี่ยงของตนเองพร้อมเลือกลงทุนตามที่แบบทดสอบแนะนำ โดยทำในรูปแบบแผนภูมิวงกลม และทบทวนแบบลงทุนต่างๆ
    วันศุกร์ครูและพี่ๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์ และสรุปสัปดาห์โดยในวันนี้พี่ๆ ได้ตกลงกันว่าจะทำบัวลอยไข่หวานรับประทานเนื่องจากเป็นวันห่อข้าวประจำเดือน เพื่อให้เรียนรู้จักการแบ่งปัน เมื่อถึงเวลาไปทำอาหาร
    พี่ปังปอนด์ “ครูครับพวกผมจะทำลาบหมู”
    ครูเหมี่ยว “เราตกลงกันว่าจะทำบัวลอยไม่ใช่หรือค่ะ”
    พี่ปุณ “พวกผมตกลงกันหลังจากพูดเรื่องบัวลอยครับ”
    พี่เพลง “ถ้างั้นพวกตัวเองก็ทำลาบหมู พวกเค้าทำบัวลอย”
    หลังจากนั้นพี่ๆ ทำหน้าที่ของตนเอง
    พี่นัท “ครูครับบัวลอยไม่ได้ปั้นแป้งต้มในน้ำกะทิหรือครับ”
    พี่มิ้ว “ตอนอยู่ ม.1 กระต่ายพาพวกเราปั้นใส่ลงในน้ำกะทิ”
    ม.2 แบ่งปันบัวลอยให้พี่ ม.3 และน้อง ม.1 ส่วนลาบพี่ๆ ทำรับประทานกันเองในชั้นเรียนค่ะ

    ตอบลบ